คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู
การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ
1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ
ประเพณีไทย การเบิกน่านน้ำ
ช่วงเวลา กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในเทศกาลออกพรรษา ก่อนจะมีการแข่งขันเรือพาย
ความสำคัญ
เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ความสำคัญ
เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเพณีไทย บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า
คำว่า “ ข้าวประดับดิน ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538 ได้ให้ ความหมายไว้ว่า “ ข้าวประดับดิน (ถิ่นอีสาน) ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพธิ์และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดเดือน 9 ” ความหมายตามพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคนะวันออกเฉียงเหนือของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ที่ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายไว้ว่า
“ ข้าวประดับดิน ชื่อของบุญเดือน 9 บุญข้าวสากน้อยที่เรียกว่า : ชื่ออาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ที่จัดใส่กระทง วางไว้ตามพื้นดินหรือโคนต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ
เนื่องจากคนลาวและไทอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลแล้ว ว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือน เก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากัน จัดห่อข้าว ไว้ให้ญาติที่น้องที่ตายไปแล้ว ผู้ล่วงรับไปแล้ว
ครั้งพระพุทธกาลบรรดาญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์แล้ว ตายไปเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระ พุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แล้ว จึงได้ทรงอุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้บรรดาเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น เมื่อเปรตมิได้รับผลบุญ ถึง เวลากลางคืนพากันมาส่งเสียงน่ากลัว เพื่อขอส่วนบุญอยู่ใกล้ ๆ กับพระราชนิเวศน์ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้ยินเช่นนั้น พอรุ่งเช้าจึง เสด็จไปทูลถามสาเหตุจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งสาเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารททรงทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารนั้นทรง ทราบแล้ว จึงถวายทานและอุทิศส่วนกุศลซึ่งได้ทำให้เปรต ตั้งแต่นั้นมาบรรดาเปรตเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนอีก เพราะเปรตที่เป็น ญาติได้รับผลบุญแล้ว ชาวอีสานจึงถือเอามูลเหตุนี้ทำบุญข้าวประดับดินติต่อกันมา
การละเล่นไทย
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด อุดรธานี
จังหวัด อุดรธานี
เป็นการเล่นต่อขาให้สูงสันนิษฐานว่าจะมาจากการทีผู้ใหญ่ใช้วิธีการนี้เดินข้าม น้ำ หรือ เข้าป่าเข้าพง แต่ไม่มีรองเท้าสวมใส่กันหนามไหน่ เมื่อป่าพงหมดไปมีรองเท้าสวมใส่ป้องกันหนามไหน่ได้ก็คงจะเลิกใช้กัน แต่เด็กนำมาเป็นของเล่น เล่นกันให้สนุกสนาน
- อุปกรณ์ในการเล่น
ไม้ไผ่ท่อนเล็กขนาดพอเหมาะมือจับได้มั่น ๒ ท่อน ยาวท่อนละประมาณ ๑.๕๐ - ๒ เมตร เลือกไม้ไผ่ที่มีแขนงที่แข็งแรงยื่นออกมาจากบ้องโดยกะขนาดให้ได้ความสูงใน การที่จะขึ้นไปยืนและก้าวเดินได้ตามที่ต้องการ หากหาไม้ไผ่ที่แขนงแข็งแรงจากปล้องไม่ได้ คะเนความสูงตามที่ต้องการแล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นเจาะรูจากที่ทำเครื่องหมายให้ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หาไม้เหนียว ๆ แข็งแรง หรือเหล็กสอดเข้าไปในรูทำสลัก และหาไม้ไผ่ท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ คู่ ไม้ไผ่คู่นี้เลือกตัดให้มีปล้องไม้ไผ่อยู่ตรงกลาง เหนือปล้องไม้ไผ่ด้านหนึ่งเจาะเป็นรูกว้างพอที่จะสวมไม้ไผ่ท่อนยาวได้ให้ลง มาวางอยู่บนแขนงไม้ที่ยื่นจากปล้องหรือลงบนไม้หรือเหล็กที่ทำสลักไว้เวลา เล่นขึ้นไปเหยียบบนท่อนไม้ที่สวมไม้ท่อนยาววางเท้าให้มั่นๆและจับไม้ท่อนยาว ให้ตั้งตรง ก้าวเดินไปคล้ายเดินธรรมดา หากหัดจนชำนิชำนาญก็พาไม้วิ่งได้รวดเร็ว ถ้าต้องเดินสูงมากจะทำรูสลักสูง เวลาขึ้นไปยืนบนไม้โถกเถกต้องใช้บันไดบ้านหรือกำแพงสำหรับพิงไม้โถกเถกแล้ว ขึ้นไปยืน
- โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เล่นได้ทุกโอกาสเด็ก ๆ จะวิ่งแข่งกัน หรือเล่นในงานโรงเรียนเป็นการแข่งขันระหว่างชั้นปี หรือในเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ เทศกาลกฐินจะมีกีฬาหมู่บ้านเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีก็จะจัดแข่งขัน เดินวิ่งไม้โถกเถก
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน